เปรียบเทียบการพัฒนาแบบ “เสื้อเหมาโหล” และ แบบ “เสื้อสั่งตัด” กรณีโครงการพลังงานสะอาดบ้านเกาะบูโหลนดอน

เปรียบเทียบการพัฒนาแบบ “เสื้อเหมาโหล” และ แบบ “เสื้อสั่งตัด” กรณีโครงการพลังงานสะอาดบ้านเกาะบูโหลนดอน

การพัฒนาแบบ เสื้อเหมาโหล : “One Size Fits All” “เสื้อเหมาโหล” เป็นการนำรูปแบบการผลิตเสื้อผ้ามาเปรียบเทียบกับนโยบายการบริหารจัดการ นโยบายแบบเสื้อเหมาโหลเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายเพียงเขียนโครงการกับตั้งงบประมาณเท่านั้นแล้วก็จัดการ “ปูพรม” ส่งงบส่งปัจจัยต่างๆ ลงไปในทุกพื้นที่เหมือนๆ กัน ทว่าในความง่ายนี้เองระยะหลังๆ เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ ว่านโยบายแบบนี้หลายครั้งไม่ต่างอะไรกับการ“ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” เป็นการใช้ทรัพยากรที่สูญเปล่าไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลที่ได้รับ

ทำให้มีการพูดถึงศัพท์ในวงการเสื้อผ้าอีกคำคือ“Tailor Made” หรือแปลว่า “เสื้อสั่งตัด” เป็นการออกแบบนโยบายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มหรือแม้แต่บุคคลแต่ละคน ดังที่ฮือฮากันมากกับกรณีของ ประเทศจีน ที่รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บข้อมูลคนจนแบบทีละคนๆ จนมีฐานข้อมูลอย่างละเอียดถึง 80 ล้านครัวเรือน เพื่อนำไปออกแบบนโยบายที่สอดคล้องกับครัวเรือนหรือชุมชนดังกล่าว นโยบายแบบเสื้อสั่งตัดนี้แม้การดำเนินการจะยุ่งยากกว่า หรืออาจใช้งบประมาณมากกว่าแบบเสื้อเหมาโหล แต่ผลที่ได้มักจะคุ้มค่ากว่าเพราะทำตรงจุด ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/327934

ยกตัวอย่างต้นแบบความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าสะอาดบ้านเกาะบุโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล โดยใช้แนวคิด “เสื้อสั่งตัด” เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อบริหารกลุ่มกิจการไฟฟ้าแบบ “โซลาร์โฮม” ระดับครัวเรือน SHS (Solar Home System) โดยโครงการจัดหาเงินลงทุนสนับสนุนเทคโนโลยีให้กับสมาชิกที่สามารถเลือกจ่ายได้ตามขนาดของระบบเล็ก กลาง ใหญ่ โดยเริ่มต้นที่เดือนละ 120 บาท การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ด้วยการดูแลซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่ เพิ่มระบบได้ ถึงแม้โครงการจะได้รับการสนับสนุนแบบให้เปล่า ซึ่งสามารถแจกจ่ายระบบฟรีให้กับชุมชนแบบปูพรม ได้เหมือนกันทุกคน (“One Size Fits All” “เสื้อเหมาโหล”) ซึ่งทุกคนจะได้เพียงระบบขนาดเล็ก (S) จะได้ไฟฟ้าเพื่อแสงสว่าง กับ ชาร์จโทรศัพท์ แต่จากการทำงานวางแผนร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาและชุมชนซึ่งมองเห็นตรงกันว่าควรใช้แนวทางการบริหารโครงการแบบ “เสื้อสั่งตัด” โดยให้เงินลงทุนกับกลุ่มและจัดระบบโซล่าโฮมให้กับสมาชิกได้เลือกใช้โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือนความพร้อมและความสามารถในการชำระค่าระบบ ดังนั้นแนวทางนี้สมาชิกจะไม่ได้ระบบพร้อมกันทั้งหมู่บ้านแต่จะทยอยเปิดรับซึ่งทุกคนจะมีเวลาตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมโครงการเมื่อไหร่ตอนไหนก็ได้แต่อาจต้องรอคิว โดยระบบจะแบ่ง ดังนี้ ขนาดเล็ก (S) ขนาดกลาง (M) สำหรับสมาชิกที่เน้นคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐาน ขนาดใหญ่ (L) สำหรับสมาชิกที่ทำธุรกิจร้านค้าภายในชุมชน โดยใช้วิธีการเก็บเงินผ่อนชำระค่าระบบรายเดือนระยะเวลา (48 เดือน) การบริหารโครงการแบบ “เสื้อสั่งตัด” ที่หลีกเลี่ยงการแจกฟรี ทำให้เกิดการส่งเสริมการทำธุรกิจ อุปโภค บริโภค และ บริการสาธารณะ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (WiFi) เกิดอาชีพใหม่ เช่นช่างติดตั้ง ซ่อมบำรุงระบบ SHS เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนพึ่งตนเองในชุมชน โดยระยะเวลา 1 ปีที่ผ่าน กลุ่มมีอัตราการเติบโตของธุรกิจอยู่ที่ 15% ปัจจุบันมีผู้ใช้ SHS แบบเติมเงิน (Pay-As-You-Go) 42 ระบบครอบคลุม 31 ครัวเรือน โดยกลุ่มสามารถนำผลกำไรมาขยายผลเปิดรับสมาชิกใหม่ได้ทุกเดือน ทั้งหมดนี้เกิดจากแนวคิดTailor Made” หรือแปลว่า “เสื้อสั่งตัด” เป็นการลงทุนการพัฒนาพื้นที่ครั้งเดียวแต่เกิดความคุ้มค่า ยั่งยืน และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การพัฒนากลไกการตลาดที่มากกว่าการแจกฟรีเพื่อการเข้าถึงไฟฟ้าจากโซล่าโฮมบ้านเกาะบูโหลนดอน

คิด เห็น share : บ้านเกาะบุโหลนดอน ต้นแบบโครงการพัฒนาพลังงานสะอาด

ความหลากหลายของระบบที่ส่งเสริมเป็นการทำพลังงานสะอาดไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตและก่อให้เกิดรายได้ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชน

การ์ตูนการพัฒนาที่ยั่งยืน

: Why does the one-size-fits-all approach to governance fail?
A number of reasons. First, contextual factors determine what kind of institutional change is possible and what is not. So context must be considered seriously when doing reform. A one size fits all approach commonly fails to take context into consideration. Second, one size fits all reforms tend to be the ‘best practice’ variety that demand a lot to work properly. Most commonly the content required to ensure functionality is not present in many places, hence the best you get are new institutional forms that look better but do not function. Third, agents who are embedded in extant institutional structures are highly unlikely to simply move from the rules they know to a one size fits all solution. Change happens through a process, where agents identify the need for change (typically because of some kind of threat or problem they cannot ignore) and then find and fit contextually relevant solutions (that are politically accepted and practically possible). One tends to bypass this process when importing one size fits all solutions…which routinely guarantees limited acceptance of these solutions and ensures that they are poorly capacitated.
Reference : https://www.humanosphere.org/basics/2013/04/taking-a-one-size-does-not-fit-all-approach-to-governance/