นายวิชาญกรณ์ ประภาวิทย์ พลังงานจังหวัดสตูล นำทีมงานเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล ลงพื้นที่ประชุมชี้แจงครั้งที่ 2 วันที่ 15-17 ก.ค. 2563 โดยใช้รูปแบบการจัดการความยั่งยืนผ่านกลุ่ม โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี โดย ทุนสนับสนุนโดยตรง สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย (Australia’s Direct Aid Program in Thailand) งบประมาณสนับสนุนด้านการจัดการความรู้ การลงพื้นที่ โดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน Thai-German Climate Programme (TGCP) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินงานโดย องค์กรพัฒนาเอกชน ReCharge Energy และ สำนักส่งเสิรมการมีส่วนร่วมของประชาชน กระทรวงพลังงาน
โดยเนื้อหาในการจัดประชุมจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการโครงการ ด้วยการเก็บเงิน/ออกรหัสใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ (Pay As You Go) รายเดือนเข้ากลุ่มเป็นกองทุนหมุนเวียนพลังงานยั่งยืน เพื่อซ่อมบำรุง ขยายผล การใช้พลังงานงานทดแทน 100%
หัวข้อการประชุมมีดังนี้
1. ประชุมจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการ โครงสร้างคณะทำงาน
2. รับสมัครสมาชิก
3. จัดทำระเบียบกลุ่ม
4. ความรู้เชิงเทคนิค โหลด/ชั่วโมงการใช้งานของอุปกรณ์ การรับประกัน
5. ชี้แจงขนาดของระบบ SHS ของครัวเรือน (S,M,L) และการเก็บเงินผ่านระบบ (Pay As You Go) รายเดือนเข้ากลุ่มเป็นกองทุนหมุนเวียนพลังงานยั่งยืน เพื่อซ่อมบำรุง ขยายผล การใช้พลังงานงานทดแทน 100%
การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ (Solar home system) ภายใต้แนวคิด “พลังงานสร้างคน คนสร้างพลังงานยั่งยืน” หมายถึง การพัฒนาชุมชน โดยเน้น ประเด็นพลังงานเป็นตัวขับเคลื่อน บนความเชื่อมั่นว่าชุมชนมีศัยภาพในการเรียนรู้ เพื่อนำพลังกลุ่มมาจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน ขอเพียงเปิดโอกาส สร้างพื้นทีี่การพูดคุยแลกเปลี่ยน การเข้าถึง ความรู้ ทักษะ เทคโนโลยีที่เหมาะสมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดแนวทางการใช้พลังงานสะอาดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต บนพื้นฐานการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมสร้างพลังกลุ่ม เพื่อจัดการพลังงานยั่งยืน ในรูปแบบกองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชน ที่รวมการบริหารจัดการในชุมชนอย่างครบวงจร ในด้านการเก็บเงิน PAYGO รายเดือน การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนซ่อมบำรุง การตั้งร้านค้าสหกรณ์จำหน่ายสินค้าอะไหล่อุปกรณ์โซล่าโฮม การพัฒนาทักษะช่างชุมชน ทักษะการทำโมเดลธุรกิจชุมชน การบริการ/รับประกันหลังการขายที่ได้มาตราฐานเชื่อถือได้ เป็นต้น
เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานทดแทนบนเกาะ กรณีโครงการ เกาะจิก จ.จันทบุรี และ เกาะบุโหลนดอน จ.สตูล
